คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๒๕/๒๕๕๕
ป.อ. ฆ่าผู้อื่น (มาตรา ๒๘๘)
ป.วิ.อ. พยานบอกเล่า การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า (มาตรา ๒๒๖/๓ , ๒๒๗/๑)
ขณะเกิดเหตุ ว. เห็นจำเลยที่เข้ามาซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง และขณะนั้นมีเพียงผู้ตายนั่งดื่มเบียร์อยู่ที่หน้าร้าน โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอีก เมื่อ ว. เข้าไปหยิบเครื่องดื่มดังกล่าวให้จำเลยก็ได้ยินเสียงปืนดังรวมถึง ม. ซึ่งเป็นพยานแวดล้อมก็ยังได้ยินเสียงของ ว. ตะโกนด้วยความตกใจ จึงได้ขี่รถจักรยานกลับเข้ามาที่ร้านอีก ขณะขี่รถจักรยานกลับเข้ามาก็ยังสวนกับรถกระบะสีดำ เมื่อมาถึงร้านของ ว. ผู้ตายนอนคว่ำมีเลือดไหลนองและเห็น ว. ร้องไห้ด้วยความตกใจอยู่ แสดงว่า ว. มิได้หมดสติไปตามที่ ว. เบิกความต่อศาล แต่การที่ ว. เบิกความต่อศาลว่า ไม่รู้ว่าบุคคลที่มาซื้อเครื่องดื่มชูกำลังจะอยู่ในห้องพิจารณาหรือไม่ ลักษณะเป็นการเบิกความบ่ายเบี่ยง อาจเป็นเพราะด้วยความกลัวจำเลย แต่เมื่อฟังประกอบกับคำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. ที่ให้การในวันเกิดเหตุทันทีทันใด ยังมิได้มีความคิดที่กลัวจำเลยหรือจะให้การช่วยเหลือจำเลยว่า จำเลยเป็นคนขับรถกระบะสีดำเข้ามาที่ร้านจอดซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง เมื่อ ว. เดินเข้าไปหยิบเครื่องดื่มดังกล่าวก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ๓ นัด และได้ตั้งสติออกมาดูบริเวณที่ผู้ตายนั่งอยู่เห็นผู้ตายล้มฟุบตะแคงอยู่กับพื้น ไม่พบจำเลยและรถกระบะคันดังกล่าวอีก
ซึ่งสอดคล้องกับที่ ม. ได้ขี่รถจักรยานสวนเข้ามาที่ร้านก็เห็นรถกระบะสีดำขับสวนออกไป รวมถึงการที่ชี้ภาพถ่ายผู้ต้องหา ว. ได้ชี้ภาพถ่าย ๖ ภาพและชี้ภาพถ่ายจำเลยว่าเป็นบุคคลที่มาซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง และนอกจากนี้ ว. ได้ให้การว่า รูปภาพทั้งหมด ว. ได้ดูอย่างละเอียดแล้ว และได้ทำการชี้ภาพถ่ายของจำเลยโดยขอยืนยันว่าเป็นบุคคลที่มาถามซื้อเครื่องดื่มชูกำลังก่อนที่จะมีเหตุยิงกัน ในที่เกิดเหตุจึงมีเพียงจำเลยซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าไปในร้านในขณะที่ผู้ตายนั่งดื่มเบียร์ จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเสียงปืนดังมาจากฝั่งตรงข้ามของร้านตามที่ ม. เบิกความไว้
แม้ ว. จะไม่เห็นขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายก็ตาม แต่ ว. ก็เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุดและยังมี ม. เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมอีกปากหนึ่งที่เห็นคนร้ายขับรถกระบะหลบหนีไป ส่วนคำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. แม้จะเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ จึงรับฟังได้ยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๐๑/๒๕๕๕
ป.วิ.อ. การรับฟังพยานหลักฐาน (มาตรา ๒๒๗)
ในทางพิจารณา โจทก์มีประจักษ์พยานผู้อยู่ในเหตุการณ์นำสืบรวม ๓ ปาก คือ ผู้เสียหายที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๖ แต่ประจักษ์พยานทั้งสามปากนี้เบิกความในส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่าเห็นจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ แตกต่างตรงกันข้ามกับที่พยานเคยให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน โดยในชั้นสอบสวนให้การเป็นอย่างเดียวกันว่าเห็นจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิง แต่ในชั้นพิจารณากลับเบิกความเป็นอย่างเดียวกันทั้งสามปากว่า ไม่เห็นหน้าคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิง ประเด็นสำคัญข้อนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ วินิจฉัยข้อเท็จจริงในทำนองเดียวกันศาลชั้นต้น ฟังเชื่อเหมือนกันว่า คำให้การของพยานทั้งสามในชั้นสอบสวนมีพยานหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความของพยานเหล่านี้ รับฟังได้ว่าจำเลยคือคนร้าย
ในกรณีที่คำเบิกความของพยานในชั้นศาลแตกต่างจากที่พยานได้เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ กฎหมายมิได้บังคับว่าศาลต้องรับฟังตามที่พยานมาเบิกความในชั้นศาลเท่านั้น มิฉะนั้น จะเป็นการเปิดโอกาสให้พยานกระทำการในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ และอาจก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงและบิดเบือนข้อเท็จจริงแห่งคดีโดยใช้พยานเป็นเครื่องมือด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ ตามมามากมาย ในกรณีเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนเพื่อใช้ประกอบดุลยพินิจในการเปรียบเทียบว่าอันไหนจะถูกต้องเป็นจริงกว่ากันได้ ซึ่งถ้าศาลเชื่อตามคำให้การในชั้นสอบสวนมากกว่า อันเป็นการเชื่อตามข้อยกเว้น ศาลย่อมต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากโดยจะต้องมีเหตุผลที่ได้จากพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๑๕๑/๒๕๕๔
ป.วิ.อ. คำให้การชั้นสอบสวน พยานบอกเล่ารับฟังได้ (มาตรา ๒๒๖/๓)
คำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ส. เป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่นางสาว ส. เป็นผู้รู้เห็นการกระทำผิดของจำเลยและได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้ในฐานะพยาน สอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปาก กับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับพยานโจทก์ทั้งสองมาก่อน จึงต้องด้วยข้อยกเว้นที่ห้ามมิให้รับฟัง ศาลมีอำนาจรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวประกอบการพิจารณาของศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ป.อ. ฆ่าผู้อื่น (มาตรา ๒๘๘)
ป.วิ.อ. พยานบอกเล่า การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า (มาตรา ๒๒๖/๓ , ๒๒๗/๑)
ขณะเกิดเหตุ ว. เห็นจำเลยที่เข้ามาซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง และขณะนั้นมีเพียงผู้ตายนั่งดื่มเบียร์อยู่ที่หน้าร้าน โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอีก เมื่อ ว. เข้าไปหยิบเครื่องดื่มดังกล่าวให้จำเลยก็ได้ยินเสียงปืนดังรวมถึง ม. ซึ่งเป็นพยานแวดล้อมก็ยังได้ยินเสียงของ ว. ตะโกนด้วยความตกใจ จึงได้ขี่รถจักรยานกลับเข้ามาที่ร้านอีก ขณะขี่รถจักรยานกลับเข้ามาก็ยังสวนกับรถกระบะสีดำ เมื่อมาถึงร้านของ ว. ผู้ตายนอนคว่ำมีเลือดไหลนองและเห็น ว. ร้องไห้ด้วยความตกใจอยู่ แสดงว่า ว. มิได้หมดสติไปตามที่ ว. เบิกความต่อศาล แต่การที่ ว. เบิกความต่อศาลว่า ไม่รู้ว่าบุคคลที่มาซื้อเครื่องดื่มชูกำลังจะอยู่ในห้องพิจารณาหรือไม่ ลักษณะเป็นการเบิกความบ่ายเบี่ยง อาจเป็นเพราะด้วยความกลัวจำเลย แต่เมื่อฟังประกอบกับคำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. ที่ให้การในวันเกิดเหตุทันทีทันใด ยังมิได้มีความคิดที่กลัวจำเลยหรือจะให้การช่วยเหลือจำเลยว่า จำเลยเป็นคนขับรถกระบะสีดำเข้ามาที่ร้านจอดซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง เมื่อ ว. เดินเข้าไปหยิบเครื่องดื่มดังกล่าวก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ๓ นัด และได้ตั้งสติออกมาดูบริเวณที่ผู้ตายนั่งอยู่เห็นผู้ตายล้มฟุบตะแคงอยู่กับพื้น ไม่พบจำเลยและรถกระบะคันดังกล่าวอีก
ซึ่งสอดคล้องกับที่ ม. ได้ขี่รถจักรยานสวนเข้ามาที่ร้านก็เห็นรถกระบะสีดำขับสวนออกไป รวมถึงการที่ชี้ภาพถ่ายผู้ต้องหา ว. ได้ชี้ภาพถ่าย ๖ ภาพและชี้ภาพถ่ายจำเลยว่าเป็นบุคคลที่มาซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง และนอกจากนี้ ว. ได้ให้การว่า รูปภาพทั้งหมด ว. ได้ดูอย่างละเอียดแล้ว และได้ทำการชี้ภาพถ่ายของจำเลยโดยขอยืนยันว่าเป็นบุคคลที่มาถามซื้อเครื่องดื่มชูกำลังก่อนที่จะมีเหตุยิงกัน ในที่เกิดเหตุจึงมีเพียงจำเลยซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าไปในร้านในขณะที่ผู้ตายนั่งดื่มเบียร์ จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเสียงปืนดังมาจากฝั่งตรงข้ามของร้านตามที่ ม. เบิกความไว้
แม้ ว. จะไม่เห็นขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายก็ตาม แต่ ว. ก็เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุดและยังมี ม. เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมอีกปากหนึ่งที่เห็นคนร้ายขับรถกระบะหลบหนีไป ส่วนคำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. แม้จะเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ จึงรับฟังได้ยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๐๑/๒๕๕๕
ป.วิ.อ. การรับฟังพยานหลักฐาน (มาตรา ๒๒๗)
ในทางพิจารณา โจทก์มีประจักษ์พยานผู้อยู่ในเหตุการณ์นำสืบรวม ๓ ปาก คือ ผู้เสียหายที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๖ แต่ประจักษ์พยานทั้งสามปากนี้เบิกความในส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่าเห็นจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ แตกต่างตรงกันข้ามกับที่พยานเคยให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน โดยในชั้นสอบสวนให้การเป็นอย่างเดียวกันว่าเห็นจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิง แต่ในชั้นพิจารณากลับเบิกความเป็นอย่างเดียวกันทั้งสามปากว่า ไม่เห็นหน้าคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิง ประเด็นสำคัญข้อนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ วินิจฉัยข้อเท็จจริงในทำนองเดียวกันศาลชั้นต้น ฟังเชื่อเหมือนกันว่า คำให้การของพยานทั้งสามในชั้นสอบสวนมีพยานหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความของพยานเหล่านี้ รับฟังได้ว่าจำเลยคือคนร้าย
ในกรณีที่คำเบิกความของพยานในชั้นศาลแตกต่างจากที่พยานได้เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ กฎหมายมิได้บังคับว่าศาลต้องรับฟังตามที่พยานมาเบิกความในชั้นศาลเท่านั้น มิฉะนั้น จะเป็นการเปิดโอกาสให้พยานกระทำการในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ และอาจก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงและบิดเบือนข้อเท็จจริงแห่งคดีโดยใช้พยานเป็นเครื่องมือด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ ตามมามากมาย ในกรณีเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนเพื่อใช้ประกอบดุลยพินิจในการเปรียบเทียบว่าอันไหนจะถูกต้องเป็นจริงกว่ากันได้ ซึ่งถ้าศาลเชื่อตามคำให้การในชั้นสอบสวนมากกว่า อันเป็นการเชื่อตามข้อยกเว้น ศาลย่อมต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากโดยจะต้องมีเหตุผลที่ได้จากพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๑๕๑/๒๕๕๔
ป.วิ.อ. คำให้การชั้นสอบสวน พยานบอกเล่ารับฟังได้ (มาตรา ๒๒๖/๓)
คำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ส. เป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่นางสาว ส. เป็นผู้รู้เห็นการกระทำผิดของจำเลยและได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้ในฐานะพยาน สอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปาก กับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับพยานโจทก์ทั้งสองมาก่อน จึงต้องด้วยข้อยกเว้นที่ห้ามมิให้รับฟัง ศาลมีอำนาจรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวประกอบการพิจารณาของศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย