คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๑๔๘/๒๕๕๑
ป.วิ.อ. มาตรา ๘๓, ๘๔, ๒๒๖
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๔ วรรคสี่ บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ... ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี"
คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลย มิใช่ราษฎรเป็นผู้จับ จึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตามมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิ ตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าว”
ศาลฎีกาตรวจดูบันทึกการจับกุมแล้ว ปรากฏว่า เป็นลายมือเขียนด้วยน้ำหมึก มีข้อความว่า จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามมาตรา ๘๔ วรรคสี่ และบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่มาตรา ๘๓ วรรคสอง บัญญัติเลย พยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่า "ผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้" กับไม่มีข้อความว่า "ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้" แต่อย่างใด
แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความ ก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่มาตรา ๘๓ วรรคสอง บัญญัติ ฉะนั้น ถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖
ป.วิ.อ. มาตรา ๘๓, ๘๔, ๒๒๖
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๔ วรรคสี่ บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ... ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี"
คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลย มิใช่ราษฎรเป็นผู้จับ จึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตามมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิ ตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าว”
ศาลฎีกาตรวจดูบันทึกการจับกุมแล้ว ปรากฏว่า เป็นลายมือเขียนด้วยน้ำหมึก มีข้อความว่า จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามมาตรา ๘๔ วรรคสี่ และบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่มาตรา ๘๓ วรรคสอง บัญญัติเลย พยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่า "ผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้" กับไม่มีข้อความว่า "ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้" แต่อย่างใด
แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความ ก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่มาตรา ๘๓ วรรคสอง บัญญัติ ฉะนั้น ถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖