คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๑๕/๒๕๔๘
ป.วิ.อ. มาตรา ๘๔ วรรคท้าย, ๑๓๕
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๒
มาตรา ๒ แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒)ฯ กำหนดให้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว
ดังนั้น ข้อความในมาตรา ๘๔ วรรคสุดท้าย แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ... ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน..." นั้น หมายถึง ถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับภายหลังจากที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น แต่คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมคดีนี้ จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานผู้จับก่อนที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน
ขณะจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ จำเลยได้พูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ญาติพี่น้องฟัง ญาติพี่น้องจำเลยจึงบอกจำเลยให้รับสารภาพ แสดงว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น คำให้การดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๕
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๓๑/๒๕๔๘
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ ๑/๒๕๔๘)
ป.วิ.อ. มาตรา ๘๔, ๒๒๖
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๔๗ ออกใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยกเลิกความในมาตรา ๘๔ แห่ง ป.วิ.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน โดยวรรคสุดท้ายของมาตรา ๘๔ ที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าถ้อยคำอื่นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี"
แสดงให้เห็นว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่มุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับ มารับฟังเป็นพยานหลักฐานต่อเมื่อบทบัญญัติเรื่องการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับตามมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๓ วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว หาได้มีความหมายว่าขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีนี้ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองด้วยไม่ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานผู้จับได้จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ และโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖ โดยชอบแล้ว
ประกอบกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา ๘๔ วรรคสุดท้าย ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ ต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ศาลฎีกาจึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยทั้งสองตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษได้ตามกฎหมายเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๕๖๒/๒๕๓๗
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๖ , ๒๒๗
พยานหลักฐานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๖ จะต้องไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณามาใช้ลงโทษจำเลยโจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยพยานประกอบนั้น ต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวนคำรับนั้น
ส่วนบันทึกการจับกุม คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุ แม้จะมีภาพจำเลยและมีข้อความระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิด
(หมายเหตุ.- บันทึกการจับกุม ตลอดจนคำให้การชั้นสอบสวน ที่มีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพนั้นเป็นพยานบอกเล่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๑/๒๕๓๑) ภาพถ่ายและบันทึกการนำตัวผู้ต้องหามาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ ไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมาฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๕๘/๒๕๓๓) จึงเป็นพยานบอกเล่า เช่นเดียวกับคำรับสารภาพของจำเลยในบันทึกการจับกุมและคำให้การชั้นสอบสวน
พยานบอกเล่ารับฟังได้หรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่นักกฎหมายยังคงถกเถียงกันตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาของไทยอาจแยกออกได้เป็น3 แนว คือ
(1) พยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งจำเลยไม่มีโอกาสซักค้าน จึงรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๑/๒๕๓๐)
(2) พยานบอกเล่าไม่มีกฎหมายห้ามรับฟังเด็ดขาด เป็นดุลพินิจของศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๕ มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าเสียทีเดียว คำให้การชั้นสอบสวนของพยานที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น มีเหตุผลยิ่งกว่าคำให้การในชั้นศาล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๙๒/๒๕๒๗)
(3) พยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย คำให้การพยานชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าเมื่อไม่ได้ตัวผู้ให้การมาเบิกความที่ศาลเพราะตายเสียก่อนก็อาจใช้ได้ แต่มีน้ำหนักน้อย และใช้เป็นคำประกอบคำเบิกความของพยานอื่นได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๙๒/๒๔๙๙)
ผู้บันทึกมีความเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๕ เป็นบทตัดพยานบอกเล่า กล่าวคือไม่ยอมรับฟังพยานบอกเล่าโดยหลักนี้มีปรากฏในกฎหมายไทยตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว (โอสถ โกสิน, คำอธิบายและเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศในเรื่องกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๑๗ น.๓๑๓) และไปตรงกับหลัก HEARSAY ของคอมมอนลอว์ นั่นเอง (มีนักกฎหมายบางท่านเห็นว่า มาตรา ๙๕ ไม่ใช่บทตัดพยานบอกเล่า ตามหลัก HEARSAY ของคอมมอนลอว์ (พรเพชรวิชิตชลชัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, ๒๕๓๖ น.๑๒๗) แต่หลัก HEARSAY ของคอมมอนลอว์นั้น มีข้อยกเว้นมากจนข้อยกเว้นจะกลายเป็นหลักทั่วไป (โสภณรัตนากร,คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, ๒๕๓๖ น.๒๓๕, STEENEMANUEL,EIDENCE ,๑๙๙๑ P.๑๔๙)
ต่อมา เมื่อนักกฎหมายไทยนำหลักกฎหมายอังกฤษบางเรื่องมาใช้ซึ่งรวมถึงหลักกฎหมายพยานเกี่ยวกับพยานบอกเล่า และข้อยกเว้นการรับฟังพยานบอกเล่าด้วยและโดยเฉพาะการยอมรับหลักกฎหมายในเรื่องพยานบอกเล่าและข้อยกเว้นการรับฟังพยานบอกเล่านั้นสอดคล้องกับหลักกฎหมายของไทยในเรื่องพยานบอกเล่าที่มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และในปัจจุบันจะเห็นได้จากบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๕ (๒) ซึ่งบัญญัติว่ายอมรับฟังพยานได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าโดยชัดแจ้ง แต่ก็มีข้อยกเว้นตาม มาตรา ๙๕ (๒) ตอนท้าย โดยเฉพาะถ้อยคำที่ว่า "คำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น" ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มีความหมายกว้างมากสามารถครอบคลุมข้อยกเว้นการรับฟังพยานบอกเล่าตามหลักคอมมอนลอว์ได้ การบัญญัติกฎหมายเช่นนี้เป็นลักษณะการบัญญัติกฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (CIVILLAWSYSTEM)
ผู้บันทึกยังเห็นต่อไปว่า เมื่อผ่านขั้นตอนว่าพยานบอกเล่ารับฟังได้หรือไม่แล้ว (AdmissionofEvidence) ศาลไทยยังวางหลักต่อไปในชั้นชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานอีกว่า พยานบอกเล่าที่ยอมรับฟังตามข้อยกเว้นนั้นมีน้ำหนักน้อย ต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นด้วยจึงจะมีน้ำหนักฟังลงโทษจำเลยได้ แนวคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสามแนวดังกล่าวข้างต้นจึงมิได้ขัดแย้งกัน กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นว่ากรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะรับฟังพยานบอกเล่า (ในชั้นรับฟังพยาน) ก็จะใช้มาตรา ๙๕ ในฐานะบทตัดพยานบอกเล่า แต่ถ้าเห็นว่ากรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้ก็จะใช้ข้อยกเว้นตามมาตรา ๙๕ (๒) ตอนท้ายรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าว และถ้ากรณีเป็นพยานบอกเล่าที่รับฟังได้ ก็ยังถือว่าเป็นพยานที่มีน้ำหนักน้อย ต้องฟังประกอบพยานอื่น (ในชั้นชั่งน้ำหนักคำพยาน)
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๙๕ ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้นและแม้จะรับฟังพยานบอกเล่าได้ก็ตาม พยานดังกล่าวก็ยังมีน้ำหนักน้อย
“สมชาย รัตนชื่อสกุล”
ป.วิ.อ. มาตรา ๘๔ วรรคท้าย, ๑๓๕
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๒
มาตรา ๒ แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒)ฯ กำหนดให้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว
ดังนั้น ข้อความในมาตรา ๘๔ วรรคสุดท้าย แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ... ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน..." นั้น หมายถึง ถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับภายหลังจากที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น แต่คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมคดีนี้ จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานผู้จับก่อนที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน
ขณะจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ จำเลยได้พูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ญาติพี่น้องฟัง ญาติพี่น้องจำเลยจึงบอกจำเลยให้รับสารภาพ แสดงว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น คำให้การดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๕
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๓๑/๒๕๔๘
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ ๑/๒๕๔๘)
ป.วิ.อ. มาตรา ๘๔, ๒๒๖
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๔๗ ออกใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยกเลิกความในมาตรา ๘๔ แห่ง ป.วิ.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน โดยวรรคสุดท้ายของมาตรา ๘๔ ที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าถ้อยคำอื่นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี"
แสดงให้เห็นว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่มุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับ มารับฟังเป็นพยานหลักฐานต่อเมื่อบทบัญญัติเรื่องการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับตามมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๓ วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว หาได้มีความหมายว่าขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีนี้ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองด้วยไม่ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานผู้จับได้จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ และโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖ โดยชอบแล้ว
ประกอบกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา ๘๔ วรรคสุดท้าย ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ ต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ศาลฎีกาจึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยทั้งสองตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษได้ตามกฎหมายเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๕๖๒/๒๕๓๗
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๖ , ๒๒๗
พยานหลักฐานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๖ จะต้องไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณามาใช้ลงโทษจำเลยโจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยพยานประกอบนั้น ต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวนคำรับนั้น
ส่วนบันทึกการจับกุม คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุ แม้จะมีภาพจำเลยและมีข้อความระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิด
(หมายเหตุ.- บันทึกการจับกุม ตลอดจนคำให้การชั้นสอบสวน ที่มีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพนั้นเป็นพยานบอกเล่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๑/๒๕๓๑) ภาพถ่ายและบันทึกการนำตัวผู้ต้องหามาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ ไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมาฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๕๘/๒๕๓๓) จึงเป็นพยานบอกเล่า เช่นเดียวกับคำรับสารภาพของจำเลยในบันทึกการจับกุมและคำให้การชั้นสอบสวน
พยานบอกเล่ารับฟังได้หรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่นักกฎหมายยังคงถกเถียงกันตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาของไทยอาจแยกออกได้เป็น3 แนว คือ
(1) พยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งจำเลยไม่มีโอกาสซักค้าน จึงรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๑/๒๕๓๐)
(2) พยานบอกเล่าไม่มีกฎหมายห้ามรับฟังเด็ดขาด เป็นดุลพินิจของศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๕ มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าเสียทีเดียว คำให้การชั้นสอบสวนของพยานที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น มีเหตุผลยิ่งกว่าคำให้การในชั้นศาล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๙๒/๒๕๒๗)
(3) พยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย คำให้การพยานชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าเมื่อไม่ได้ตัวผู้ให้การมาเบิกความที่ศาลเพราะตายเสียก่อนก็อาจใช้ได้ แต่มีน้ำหนักน้อย และใช้เป็นคำประกอบคำเบิกความของพยานอื่นได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๙๒/๒๔๙๙)
ผู้บันทึกมีความเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๕ เป็นบทตัดพยานบอกเล่า กล่าวคือไม่ยอมรับฟังพยานบอกเล่าโดยหลักนี้มีปรากฏในกฎหมายไทยตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว (โอสถ โกสิน, คำอธิบายและเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศในเรื่องกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๑๗ น.๓๑๓) และไปตรงกับหลัก HEARSAY ของคอมมอนลอว์ นั่นเอง (มีนักกฎหมายบางท่านเห็นว่า มาตรา ๙๕ ไม่ใช่บทตัดพยานบอกเล่า ตามหลัก HEARSAY ของคอมมอนลอว์ (พรเพชรวิชิตชลชัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, ๒๕๓๖ น.๑๒๗) แต่หลัก HEARSAY ของคอมมอนลอว์นั้น มีข้อยกเว้นมากจนข้อยกเว้นจะกลายเป็นหลักทั่วไป (โสภณรัตนากร,คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, ๒๕๓๖ น.๒๓๕, STEENEMANUEL,EIDENCE ,๑๙๙๑ P.๑๔๙)
ต่อมา เมื่อนักกฎหมายไทยนำหลักกฎหมายอังกฤษบางเรื่องมาใช้ซึ่งรวมถึงหลักกฎหมายพยานเกี่ยวกับพยานบอกเล่า และข้อยกเว้นการรับฟังพยานบอกเล่าด้วยและโดยเฉพาะการยอมรับหลักกฎหมายในเรื่องพยานบอกเล่าและข้อยกเว้นการรับฟังพยานบอกเล่านั้นสอดคล้องกับหลักกฎหมายของไทยในเรื่องพยานบอกเล่าที่มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และในปัจจุบันจะเห็นได้จากบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๕ (๒) ซึ่งบัญญัติว่ายอมรับฟังพยานได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าโดยชัดแจ้ง แต่ก็มีข้อยกเว้นตาม มาตรา ๙๕ (๒) ตอนท้าย โดยเฉพาะถ้อยคำที่ว่า "คำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น" ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มีความหมายกว้างมากสามารถครอบคลุมข้อยกเว้นการรับฟังพยานบอกเล่าตามหลักคอมมอนลอว์ได้ การบัญญัติกฎหมายเช่นนี้เป็นลักษณะการบัญญัติกฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (CIVILLAWSYSTEM)
ผู้บันทึกยังเห็นต่อไปว่า เมื่อผ่านขั้นตอนว่าพยานบอกเล่ารับฟังได้หรือไม่แล้ว (AdmissionofEvidence) ศาลไทยยังวางหลักต่อไปในชั้นชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานอีกว่า พยานบอกเล่าที่ยอมรับฟังตามข้อยกเว้นนั้นมีน้ำหนักน้อย ต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นด้วยจึงจะมีน้ำหนักฟังลงโทษจำเลยได้ แนวคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสามแนวดังกล่าวข้างต้นจึงมิได้ขัดแย้งกัน กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นว่ากรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะรับฟังพยานบอกเล่า (ในชั้นรับฟังพยาน) ก็จะใช้มาตรา ๙๕ ในฐานะบทตัดพยานบอกเล่า แต่ถ้าเห็นว่ากรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้ก็จะใช้ข้อยกเว้นตามมาตรา ๙๕ (๒) ตอนท้ายรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าว และถ้ากรณีเป็นพยานบอกเล่าที่รับฟังได้ ก็ยังถือว่าเป็นพยานที่มีน้ำหนักน้อย ต้องฟังประกอบพยานอื่น (ในชั้นชั่งน้ำหนักคำพยาน)
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๙๕ ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้นและแม้จะรับฟังพยานบอกเล่าได้ก็ตาม พยานดังกล่าวก็ยังมีน้ำหนักน้อย
“สมชาย รัตนชื่อสกุล”